วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ความเป็นมา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบทห่างไกลและทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ยังเยาว์พระชันษา ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้ทรงทราบปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความขาดแคลนอาหารและปัจจัยต่างๆ การขาดบริการสาธารณสุขและการศึกษา จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะทรงช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนที่ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารเหล่านี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มงานพัฒนาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ โดยทรงทดลองทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๓ โรง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร หลังจากนั้นได้ทรงขยายงานพัฒนาในด้านอื่นๆอีกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งขยายพื้นที่การดำเนินงานมากขึ้นด้วยโดยโปรดเกล้าฯให้  สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ” ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ 
แนวทางในการดำเนินงานโครงการพัฒนา

                ในการดำเนินงาน จะเริ่มในสถานศึกษาก่อน ถ้าท้องถิ่นใดยังไม่มีสถานศึกษาก็จะเข้าไปรวมกลุ่มเด็กในพื้นที่ แล้วจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชนหรือโรงเรียน แล้วทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านกระบวนการทางการศึกษา หลังจากนั้นจึงขยายการพัฒนาไปสู่ชุมชน โดยยึดหลักการดำเนินงาน ดังนี้
การพึ่งพาตนเอง โดยเน้นให้ทุกคนได้ช่วยเหลือตนเองก่อนเป็นอันดับแรกเช่น การให้เมล็ด
พันธุ์พืชผัก พันธุ์สัตว์ เพื่อผลิตอาหารไว้บริโภคเอง แทนที่จะให้อาหารโดยตรง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต่อไป
การมีส่วนร่วม เน้นให้ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการทำโครงการได้มีส่วนในการช่วยคิด
ช่วยทำ เช่น การที่ผู้ปกครองและเด็ก ต้องร่วมกันวางแผนและทำการผลิตทางการเกษตร จัดเวรในการประกอบอาหารกลางวัน ซึ่งมีผลทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ได้เรียนรู้และเข้าใจในกิจกรรมที่ทำอยู่
การพัฒนาแบบองค์รวมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาในทุกๆ ด้านไป
พร้อมๆ กัน นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายจะต้องได้รับความรู้จากกิจกรรมที่ทำ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารมีการดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ด้านเกษตรกรรมและกลุ่มเป้าหมายได้ปฏิบัติจริงทั้งการปลูกและประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรกหลักสูตร สหกรณ์ในการผลิต เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มผลิตและจำหน่ายผลผลิตที่เหลือ ผลที่ได้นอกจากจะมีอาหารรับประทานแล้ว ยังเกิดการรวมกลุ่มกันทำงาน และมีรายได้เสริม
พัฒนาระบบประสานงานความร่วมมือจากทุกส่วน ในการช่วยหลือ จากภาครัฐบาลและ
ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ มีการจัดทำแผนงานหลักของโครงการทุกๆ ระยะ ๕ ปี เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางทำให้งานต่างๆ มีความก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีการอบรม การ
ประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน เพื่อให้ความรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ปฏิบัติงานโครงการเป็นประจำ รวมทั้งมีการประเมินและรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ และสามารถนำไปปรับปรุงการดำเนินงานได้
ยึดหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น กิจกรรมการ
พัฒนาต่างๆ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้

             การดำเนินงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริในถิ่นทุรกันดาร ยึดหลักการอนุรักษ์วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น ๖ ด้านใหญ่ๆ คือ
ปัจจุบันการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนิน
ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑๘๓ โรง ใน ๓๘ จังหวัดทั่วประเทศ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๗๘ โรง ใน ๒๒ จังหวัด ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง” และศูนย์การเรียนชุมชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒๖๖ ศูนย์ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๑๕ โรง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร น่าน และตาก จำนวน ๓๐ ศูนย์ โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน ๗ โรง โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  ในพื้นที่จังหวัดน่าน  แพร่ และเชียงราย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๓๙ โรง และโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๒๗ โรง รวมมีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด ๗๔๕ แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูลปีการศึกษา ๒๕๕๒)